การเลือกซื้อท่อPE

และการตรวจรับท่อPE

การตรวจสอบคุณภาพท่อPEเบื้องต้น

1. ผิวภายในและผิวภายนอก

เราจะเน้นดูผิวด้านในของท่อพีอีเป็นพิเศษ ต้องเรียบ เนียน ไม่เป็นผิวขรุขระ ใช้มือลูบเข้าไปต้องไม่สาก เพราะรอยสากหรือปุ่มเล็ก ๆ คล้ายเม็ดทรายติดมาเพียงเล็กน้อย บ่งบอกถึงคุณภาพของท่อว่าไม่ใช่เม็ดพลาสติกใหม่อาจมีการผสมของเก่ามา ซึ่งต้องตรวจสอบด้านอื่นประกอบด้วย

*รูปท่อผิวเรียบ vs ผิวขรุขระ

2. การตีตรา มอก.

และ ตราของโรงงานที่ผลิต ท่านสามารถตรวจสอบก่อนการใช้งานกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ว่ามีมาตรฐาน มอก. จริงหรือไม่ ผลิตจากที่ไหน เมื่อไหร่

3. ความกลมความเบี้ยวของท่อ

ตามตารางด้านล่าง ซึ่งอ้างอิงจาก มอก.982-2556

วิธีวัดค่าความเบี้ยวของท่อ คือ วัดส่วนวงท่อที่กว้างสุด(d em max) และ ส่วนที่แคบสุด(d em min) โดยที่ค่าความเบี้ยวสูงสุดตามมาตรฐาน ด้านล่าง

ความเบี้ยวสูงสุด = ส่วนที่กว้างสุดของวงท่อ d em max - ส่วนที่แคบสุดของวงท่อ d em min ซึ่งถ้าท่อตรง 6 เมตร หรือ 12 เมตร ส่วนใหญ่จะไม่มีปัญหานี้ แต่ท่อที่ผลิตมาเป็นม้วน ท่ออาจเป็นวงรีได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับช่างผู้ติดตั้งหน้างานและการใช้งาน ถ้าท่อมีความเบี้ยวเกินมาตรฐานแต่ไม่ได้ติดปัญหาเรื่องการใช้งานก็ย่อมรับได้ แต่การตรวจสอบไว้ก่อนตั้งแต่ส่งของมาย่อมดีกว่า เพื่อจะได้เตรียมการณ์ตรวจรับหรือแก้ไขหรือจะตีกลับได้ทันเวลา

การตรวจสอบระหว่างการติดตั้ง

1. ตรวจรอยนูน (Bead) ที่เกิดจากการเชื่อม ท่อที่ดีคุณภาพสูง เมื่อผ่านความร้อนจากฮีตเตอร์แผ่นเชื่อม (Heater Plate) รอยเชื่อมจะต้องมีความมัน เงา เรียบ ลื่น ใช้มือลูบแล้ว สาก สะดุด หรือ มีฟองอากาศ แสดงว่าคุณภาพของท่อที่ได้มาไม่ดี อาจเกิดจากใช้เม็ดพลาสติกที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือเม็ดที่ผ่านการหลอมหลายครั้งแล้วมาใช้รีไซเคิลมาใช้ผลิตท่อ ซึ่งท่านสามารถเจรจากับช่างผู้เชื่อมงานและ ผู้ขาย เรื่องการเคลมสินค้า ก่อนจะเกิดความเสียหายหลังจากติดตั้งงานไปแล้ว

รอยเชื่อมที่สมบูรณ์

รอยเชื่อมที่ไม่สมบูรณ์

2. ตรวจโดยการตัดท่อให้เหลือ ประมาณ ¼ ของเส้นผ่าศูนย์กลางท่อ แล้วลองหักดู ซึ่งถ้าท่อ หักแบบ กรอบแตก มีโอกาสที่จะได้ท่อที่ใช้เม็ดพลาสติกแบบรีไซเคิลมาแล้วหลายครั้ง แต่ถ้าท่อหักแบบยืด ก็ยังมีโอกาสที่จะเป็นท่อคุณภาพดี

3. ตรวจความสูงของรอยนูน

ใช้วิธีตรวจระหว่างที่เชื่อมท่อ โดยวัดความสูงของรอยเชื่อมว่าอยู่ในขนาดตามมาตรฐานหรือไม่ เพื่อทำให้ทราบว่าการหลอมเป็นเนื้อเดียวกันของท่อได้จริงหรือไม่



*ตารางความหนาของผนังท่อกับ Bead ต่ำสุดที่ยอมรับได้ (มม.) อ้างอิง มาตรฐาน DVS 2207

4. ตรวจสอบระยะเวลาการเชื่อมต่อจุดของท่อ ว่าช่าง/ผู้รับเหมา ใช้เวลาเชื่อมต่อจุดตรงตามมาตรฐานหรือไม่ เพราะมีโอกาสที่ช่างจะประหยัดเวลา ในการหล่อเย็นให้เร็วขึ้นเพื่อให้เชื่อมงานได้หลายจุด ทำให้ได้คุณภาพของการเชื่อมไม่ดี แม้ว่าจะทดสอบแรงดันน้ำหรือทดสอบด้วยวิธีต่าง ๆ ผ่านก็ตาม เพราะการหล่อเย็นที่ไม่นานพอจะทำให้อายุการใช้งานของรอยเชื่อมก็ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน

ด้วยเหตุนี้ในงานราชการ เช่น การประปานครหลวง จึงต้องมีการบังคับให้ใช้เครื่อง DATA LOGGER หรือ LDU ในการพริ้นท์งาน เพื่อตรวจสอบคุณภาพของรอยเชื่อมด้วย แต่สำหรับงานเอกชนทั่วไป ก็สามารถตกลงกันได้ระหว่าง ช่าง/ผู้รับเหมากับเจ้าของงาน



ติดตามบทความต่อไป “การเชื่อมท่อPE”

*ตารางความหนาของผนังท่อกับตารางระยะเวลาในการปล่อยให้ท่อเย็นตัวภายใต้แรงดันเชื่อม (นาที)