PE (Polyethylene) คือ พลาสติกวิศวกรรม ที่สามารถนำมาขึ้นรูปเป็นท่อ หรือแผ่น สำหรับส่วนที่เป็นท่อ แบ่งออกเป็น ท่อ LDPE (Low Density Polyethylene) ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้ในงานเกษตร เพราะมีความนิ่มสูง เจาะรูง่าย ราคาถูกกว่าท่อ HDPE (Hight Density Polyethylene)มีคุณสมบัติเหนียว แข็ง แต่ยืดหยุ่น คือ มีความอ่อนตัวในระดับที่โค้งงอได้มากกว่าและมีอายุการใช้งานยาวกว่าท่อPVC สามารถรับแรงดันได้สูงสุด 25 บาร์ และใช้งานที่อุณหภูมิตั้งแต่ -70 oC ถึง 60 oC จะไม่มีผลต่อคุณสมบัติของท่อ แต่ถ้าสูงกว่านี้ก็สามารถใช้งานได้โดยต้องคำนวนการคูณลดอุณหภูมิ ซึ่งการติดตั้งต่อท่อHDPE นั้น สะดวกและเรียบง่ายกว่าท่อเหล็กซึ่งต้องเชื่อมโดยใช้ลวดเชื่อมและเกิดประกายไฟ รวมทั้งท่อพีอีนั้น มีข้อต่อท่อให้เลือกใช้หลากหลายประเภท ตามความเหมาะสมกับการใช้งาน (งานอุตสาหกรรม, งานประปา, งานเกษตรกรรม ฯลฯ) เพียงแต่ยังไม่ได้ใช้แพร่หลายสำหรับช่างในเมืองไทยมากนัก เนื่องจากความเข้าใจของผู้ใช้จะคิดว่าราคาท่อพีอี นั้นสูงกว่าท่อทั่วไป
•มีน้ำหนักเบา คือ 0.95 g/cm3 (PVC 1.4g/cm3)
•สามารถขนส่งได้ง่าย มีขดเป็นม้วนได้ยาว 100 ม. และ 200 ม.และท่อน 6 ม. 12 ม.
•มีความทนทาน ต่อรังสี อุลตราไวโอเลต แสงแดดที่แผดเผา
•มีความแข็งแรง ต่อแรงกระแทกดีมาก ช่วงอุณหภูมิ การใช้งาน-70 oC - 80 oC
•คุณสมบัติความหยุ่นตัว สามารถยืดหยุ่นตัวและโค้งงอได้ดี
•ไม่มีสารพิษ ที่เป็นโทษต่อร่างกายมนุษย์
ท่อโดยทั่วไปที่ช่างใช้งานจะถนัดเรียก เป็นหน่วยนิ้ว ซึ่งมาตรฐานของท่อพีอีนั้น มักจะบอกมาเป็น มิลลิเมตร และ ขนาดก็มักจะไม่ตรงกันกับท่อPVC หรือ ท่อเหล็ก ซึ่งทำให้ช่างหรือผู้รับเหมาเข้าใจผิดกันอยู่บ่อยครั้ง
รายละเอียดต่าง ๆ ดูได้จาก มาตรฐาน มอก.982-2556
ความสัมพันธ์ระหว่าง PN MRS S และ SDR พิจารณาได้
ความดันระบุ (PN) Norminal Pressure •ความหมาย ระบบตัวเลขเพื่อใช้อ้างอิงแสดงคุณลักษณะทางกลของระบบท่อ
ความแข็งแรงขั้นต่ำของวัสดุ (MRS)
อนุกรมท่อ (S) Pipe Series •ความหมาย ตัวเลขแสดงการเรียกขนาดตามมาตรฐาน ISO 4065
อัตราส่วนขนาดมาตรฐาน (SDR) Standard Dimention Ratio •ความหมาย อัตราส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกระบุกับความหนาท่อระบุ